Motion Capture ต่อยอดการใช้งานอุตสากรรม

Motion Capture ต่อยอดการใช้งานอุตสากรรม

Motion Capture ต่อยอดการใช้งานอุตสากรรม

ในตอนนี้หลายๆ คนคงรู้จักกับนวัตกรรม Motion Capture กันไปบ้างแล้ว และคิดว่าหลายๆ คนคงกำลังฝึกใช้งานชุด Rokoko Smartsuit กันอยู่แน่ๆ เลย ในครั้งนี้  Dfine จะพาทุกท่านไปทำความารู็จักกับนวัตกรรมนี้ให้มากขึ้นจากการได้เห็นงานจริงๆ ว่า Motion Capture นั้นสามารถตอบโจทย์และทำงานในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้อย่างไร ซึ่งรับประกันเลยว่านอกดหนือจากงานด้านมัลติมีเดียแล้ว วงการอื่นๆ ก็ไม่ควรมองข้ามเช่นเดียวกัน เพราะในบางอุตสาหกรรมนั้นก็สามารถคุณประโยชน์ได้อย่างมากมาย

อุตสาหกรรมภาพยนต์และแอนิเมชั่น

การสร้างแอนิเมชั่น 1 เรื่องนั้นเป็นการใช้งบประมาณเพื่อลงทุนที่สูงมาก ซึ่งในทุกๆ ส่วนนั้นเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดในทุกขั้นตอน และนอกเหนือจากนี้มีข้อสังเกตขึ้นมา  1 อย่างก็คือขั้นตอนที่ใช้เวลานานที่สุดก็คือการทำงานในช่วงการทำ motion หรือการทำให้ตัวละครเคลื่อนไหวนั่นเอง

ขอบคุณภาพจาก : www.google.co.th

ซึ่งจากปัญหาในด้านนี้เองทำให้ Motion Capture สามารถตอบโจทย์ได้อย่างถูกจุดเพราะถ้าดูในมุมของการผลิตแล้วเพียงแค่สวมชุด Motion Capture แล้วนำไปผูกกับโปรแกรม 3D เพียงเท่านี้ก็สามารถทำให้ตัวละครของคุณโลดแล่นอยู่ในภาพยนต์ของคุณได้แล้ว โดยที่สามารถทำท่าทางได้เทียบเท่ากับการเคลื่อนไหวของนักแสดงได้ทุกท่วงท่า หรือแม้กระทั่งการแสดงออกทางอารมณ์ผ่านหน้าตานักแสดง หรือที่เรียกว่า Face Capture นั่นเอง

ภาพการใช้ Motion Capture ประกอบการถ่ายทำเพื่อผลิตงานภาพยนต์

อุตสาหกรรมบันเทิงและการแสดง

ขอบคุณภาพจาก : www.google.co.th

ในที่นี้อาจจะไม่ได้มองแค่การทำภาพยนต์แอนิเมชั่นเท่านั้น แต่มองถึง New Media ต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่นงาน คอนเสริตของศิลปินระดับโลกอย่าง จัสติน บีเวอร์ ที่ในช่วงโควิดที่ผ่านมาทำให้คอนเสริตของตัวเขานั้นต้องยกเลิกไปในหลายครั้ง แต่ตัว Justin อยากจะขอตอบแทนแฟนๆ ที่ตั้งใจรอคอนเสริตของเค้าอย่างใจจดใจจ่อ โดยการสร้างคอนเสริตผ่านรูปแบบออนไลน์ ที่ในการแสดงนั้นเป็นการสวใชุด motion capture เพื่อคอมคุมและทำท่าทางเหมือนที่เค้าแสดดงในคอนเสริตจริงทุกประการนั่นเอง

ภาพการแสดงสดผ่านระบบ Motion Capture จากคอร์นเสริตของ Justin Bieber
ภาพเบื้องหน้าและเบื้องหลังการแสดงโดยใช้ระบบ Motion Capture ขอบคุณภาพจาก : www.google.com

และถ้ามองให้ใกล้ต้วและเป็นฝีมือของคนในบ้านเรา ก็คือการประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2022 ที่มีอยู่หนึ่งช่วงที่ พิธีกรอย่างคุณพีเค ได้คุยกับตัวการ์ตูน 1 ตัวที่ชื่อว่าน้องมงทิพย์ ในขณะออกอากาศสดนั่นเอง ซึ่งผู้ที่รับบทในการเคลื่อนไหวและออกท่าทางนั่นก็คือน้องนิต้า เจ้าของตำแหน่งนางสาวไทย 2565 คนล่าสุดนั่นเอง

อุตสาหกรรมเกมส์

dddd     

การเคลื่อนไหวการทำท่าทางต่อสู้หรืออื่นๆ แทบจะเป็นอุตสาหกรรมที่นำ Motion Capture ไปใช้แทบจะ 100% ของอุตสาหกรรมเลยก็ว่าได้ เพราะทุกวันนี้เราคงจำภาพเกมส์รูปแบบเก่าๆ ไม่ได้แล้วเพราะ เทคโนโลยีการออกแบบ และเทคโนโลยีการผลิตงานกราฟฟิกของเกมส์นั้น ถูกทำออกมาแทบจะเหมือนคนจริงๆ และยิ่งบวกเข้ากับนวัตกรรม Motion Capture เข้าไปแล้วนั้นก็ยิ่งทำให้ผู้เล่นสามารถสวมวิญญาณ ของเหล่านักผจญภัยได้อย่างเต็มภาพ เต็มอารมณ์ยิ่งขึ้น และในบางเกมส์ยังสามารถสวมชุด Motion Capture เพื่อเล่นเกมส์ได้อีกด้วย

อุตสาหกรรมกีฬา

อันนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่พึ่งมีมาไม่นานนี้ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับวิทยาศาสตร์การกีฬา ที่จะช่วยพัฒนานักกีฬาให้เพิ่มขีดความสามารถให้สูงขึ้นไปอีก ยกตัวอย่างเช่น เคนโตะ โมโมตะ นักกีฬาแบดมินตันชาวญี่ปุ่นที่เคยขึ้นถึงระดับมือ 1 ของโลกมาแล้ว ซึ่งเบื้องหลังของความสำเร็จจุดนี้ส่วนหนึ่งก็คือ motion capture โดยนักพัฒนาได้ให้ เคนโตะ โมโมตะ สวมชุด motion capture เพื่อนบันทึกท่าทางการเคลื่อนไหวขณะเล่นกีฬา แล้วนำไปคำนวณเพื่อออกแบบไม้แบดมินตัน และอุปกรณ์เสริมต่างๆ ในแบบเฉพาะตัวของเขานั่นเอง

Kento Momota นักกีฬาแบดมินตันทีมชาติญี่ปุ่น ขอบคุภาพจาก : www.google.co.th
Kento Momota ในขณะใช้งาน Motion Capture

ซึ่งในตอนนี้ก็ยังมีอีกหลากหลายกีฬาที่นำ motion capture เข้ามามีบทบาทในการสอนและพัฒนากีฬาอีกมากมาย อาทิเช่น กีฬากอล์ฟ ที่ต้องอาศัยท่าทางใยนการเล่นก็ใช้ motion capture ในการปรับท่าทางของผู้เล่นเช่นกัน

การแพทย์

ในด้านการแพทย์จะคล้ายๆ กับวงการกีฬาเช่นเดียวกันที่มีการใช้ motiom capture ในการบันทึกการเคลื่อนไหวของร่างกายมนุษย์เพื่อที่จะทำการวางแผนการรักษาอาทิเช่น อาคารกระดูกทับเส้น หรือปัญหากระดูกสันหลังคตก็จะสามารถแสดงออกมาผ่าน motiom capture ได้ทันที และยังสามารถทำการบันทึกลักษณะท่าทางการเดินเพื่อผลิตขาเทียมให้กับผู้ป่วยได้อีกด้วย ซึ่งนักวิทยาศษสตร์หลายคนก็มีการคาดการว่าเราอาจจะได้เห็นการใช้ motiom capture ในการควบคุมเครื่องมือในการผ่าตัด หรือเครื่องมือในการรักษาก็ได้

ขอบคุณภาพจาก www.phasespace.com

ซึ่งที่ผ่านมานั้นการลงทุนใน Motion Capture นั้นถือว่าเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ที่ต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูง จึงทำให้การเข้าถึงเทคโนโลยีด้านนี้จึงมีแค่องค์กรใหญ่เท่านั้นที่สามารถลงทุนในด้านนี้ได้ โดยค่าเฉลี่ยต่อคนนั้นจะตกอยู่ราว 1 ล้านบาท แต่นั่นก็คือเทคโนโลยีที่เกือบ 10 ปีมาแล้ว แต่สำหรับทุกวันนี้การเข้าถึงเทคโนโลยีในด้านนี้มีการพัฒนาทั้งในรูปแบบระบบการใช้งานและเทคโนโลยีแบบใหม่ที่สามารถลดต้นทุนลงไปได้ถึง 3-5 เท่าและกำลังเป็นที่รู้จักกันวงการมัลติมีเดียในบ้านเราอย่างมาก

ขอบคุณภาพจาก : www.google.com และขอบคุณวีดีโอจาก : www.youtube.com

Leave a Reply