คืนถิ่นออเจ้า สแกนองค์ภูเขาทอง จ.อยุธยา Space of the Week Ep.27

คืนถิ่นออเจ้า สแกนองค์ภูเขาทอง จ.อยุธยา Space of the Week Ep.27

ควันหลงของละครเรื่องพรมลิขิตยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงปลายปีที่ผ่านมา และยังคงส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยได้อย่างมหาศาล โดยเฉพาะการตอบโจทย์เรื่อง Soft Power ซึ่งเป็นคลื่นการเปลี่ยนแปลงโดยที่ผู้รับสารนั้นคล้อยตาม โดยที่ไม่ต้องบังคับหรือมีกฎดกณฑ์ใดๆ และยังคงสอดใส่ความเป็นไทยให้เรานั้น หันกลับมานิยมของไทยตามละครเรื่องนี้กันไปตามๆ กัน และ Dfine ขอเป็นอีกหนึ่งที่ร่วมส่งเสริม Soft Power หรือหลายคนให้คำนิยามว่า “พลังนุ่มนิ่ม” ให้ดังไกลไปทั่วโลกอีกหนึ่งทาง และในวันนี้เราจะเดินทางไปสแกนวัดหนึ่งที่หลายคนพูดถึงในเรื่องความสวยงามและชื่อของวัดยังเป็นชื่อเดียวกันกับวัดที่อยู่ในกรุงเทพมหานครอีกด้วย ซึ่งวัดนั้นก็คือ “วัดภูเขาทอง” โดยวัดภูเขาทอง พระนครศรีอยุธยา ห่างจากพระราชวังหลวงอยุธยาเดิมไปประมาณ 2 กิโลเมตร แม้บริเวณโดยรอบจะเป็นพุทธสถาน แต่วัดภูเขาทองยังเป็นชัยภูมิที่มีบทบาทสำคัญในสงครามไทย-พม่า โดยวัดได้ชื่อตามมหาเจดีย์ภูเขาทองที่มีความสูงถึง 90 เมตร ตามพระราชพงศาวดารอยุธยากล่าวไว้ว่า วัดภูเขาทอง สถาปนาในรัชสมัยพระราเมศวร สมัยอยุธยาตอนต้นในสงครามที่พระเจ้าบุเรงนองแห่งพม่ามีชัยเหนืออยุธยาเมื่อครั้งเสียกรุงครั้งที่ 1 ใน พ.ศ. 2112 พระเจ้าบุเรงนองจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์แบบมอญผสมพม่าก่อทับองค์เจดีย์เดิมของวัดแห่งนี้ เป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือทัพไทยเอาไว้ แต่สันนิษฐานว่าคงสร้างได้แต่ส่วนฐานทักษิณ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงกอบกู้เอกราชกลับคืนมาได้ใน พ.ศ. 2127 จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์แบบไทยไว้เหนือฐานแบบมอญและพม่า จึงมีสถาปัตยกรรมหลายแบบผสมผสานกันอยู่ (ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.trip.com)

โดยองค์ของเจดีย์นั้นเป็นองค์สีขาวบริสุทธิ์ เห็นแล้วหลายคนคงสะดุดตาน่าดู และในครั้งที่แล้วเรามีโอกาศได้ไปสแกนองค์ภูเขาทองที่กรุงเทพกันไปแล้ว และใช้เวลา ไม่เกิน 30 นาที ในครั้งนี้เรามาดูกันครับว่าเราจะใช้เวลาไปทั้งหมดกี่นาที ซึ่งจากการคาดการแล้ว คงใช้เวลาน้อยกว่าที่กรุงเทพแน่นอน เพราะตังองค์เจดีย์มีขาดเล็กแล้วไม่สูงเหมือนองค์ที่กรุงเทพฯ และที่สำคัญในครั้งนี้ทีมงานเราเดินทางไปสแกนแค่คนเดียวเท่านั้น เรามาลอดูกันเลยครับว่าจะสำเร็จตามแผนที่วางไว้หรือไม่

โดยรูปแบบการสแกนนั้นเราจะเริ่มต้นจากโดยรอบฐานล่างจากนั้นจะขึ้นบันไดเพิ่มสแกนด้ายบน เช่นเคยในการสแกนแต่ละชั้นนั้น เราจะเดินสแกนชิดบริเวณระเบียขององค์เจดีย์ ให้มากที่สุด เพราะจะช่วยให้เก็บรายละเอียดพื้นในแต่ละชั้นไปในตัวนั่นเอง ซึ่งผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรนั่นเอามาชมพร้อมๆ กันเลย

ซึ่งในการสแกนในครั้งนี้นั้นเราสามารถเก็บรายละเอียดขององค์เจดีย์ได้อย่างละเอียดทั้งในเรื่องของความสูง ขนาดฐาน ลำดับขั้นขององค์เจดีย์ ซึ่งข้อมูล Point cloud ซึ่งเราสามารถนำข้อมูลตรงส่วนนี้เข้าโปรแกรม 3มิติ เพื่อสร้างเป็นไฟล์ BIM ที่เป็นการ Reverse Engineer ได้ และนอกจากนี้ยังมีประโยชน์ต่อการสร้างโมเดลจำลองสำหรับการศึกษา และถือว่าเป็นข้อมูลสำคัญในการบูรณะในอนาคตอีกด้วย

จุดเด่นที่น่าสนใจ

  1. ประหยัดเวลาในการสแกนจากการสแกนรูปแบบเดิม 10 เท่า
  2. การสั่นสะเทือนไม่มีผลต่อการสแกน
  3. ระบายความร้อนได้ดี สแกนไม่ติดขัด
  4. ดัดแปลงจากรูปแบบเดินถือเป็นรูปแบบอื่นก็สามารถทำได้
  5. ดูผลแบบ Real Time ทั้ง 2มิติ และ 3มิติ ผ่านสมาร์ทโฟน

จุดที่น่าสังเกต

  1. ต้องควบคุมความเร็วในการเดินสแกน เพราะอาจจะทำให้โทรศัพท์ส่งข้อมูลไม่ทัน
  2. ชะลอความเร็วในจุดที่ต้องกาจะเน้นให้ละเอียด
  3. ควรหาสอยคล้องในกรณีถือสแกน และระมัดระวังให้มากขึ้น