Rokoko Smartsuit ProII ทำงานอย่างไร? ทำไมเริ่มเป็นที่นิยมในกลุ่ม Startup Animator

Rokoko Smartsuit ProII ทำงานอย่างไร? ทำไมเริ่มเป็นที่นิยมในกลุ่ม Startup Animator

Rokoko Smartsuit ProII เป็นชุดmotion capture จากประเทศเดนมาร์ค ที่ได้ทำการปล่อยออกมาให้เหล่าAnimatorทั้งมือใหม่และมืออาชีพได้ทำการจับจองเป้นเจ้าของกันและแน่นอนว่าขายดีซะด้วย………แล้วทำไมถึงเป็นอย่างนั้น

Smartsuit ProII ทำงานอย่างไร?

motion capture Suit นั้นในปัจจุบันมีหลากหลายยี่ห้อ หลายระบบ และหลายราคา สิ่งที่ว่ามาเหล่านนี้นั้นก็แปรผันกับความแม่นยำของระบบนั่นเอง ทำความรู้จักMotion Captureได้จากบทความนี้ Click..

การทำงานของRokoko Smartsuit ProIIนั้นจะเป็นระบบที่ใช้motion sensorมาทำการจับMotion captureอีกที เซนเซอร์ที่ทางRokokoเลือกใช้นั้นประกอบไปด้วยทั้งหมด3ชนิดด้วยกันประกอบไปด้วย accelerometerและgyroscopeในการจับความเคลื่อนไหว

accelerometer คือเซนเซอร์ที่ตรวจจับอัตราเร่งของวัตถุนนั้นๆ เมื่อวัตถุเกิดการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งก็ย่อมมีความเร็ว และความเร็วก็มีความเร่งเช่นกัน ซึ่งเมื่อวัตถุเกิดการเคลื่อนที่นั้นจะใช้การสั่นสะเทือนของตัวเซนเซอร์ที่ทำให้มีการสร้างแรงดันไฟฟ้าเพิ่มขึ้นภายในaccelerometerและทำการใช้ค่าแรงดันไฟฟ้าคำนวนย้อนกลับเป็นความเร่งและความเร็วของวัตถุเพื่อค้นทิศทางการเคลื่อน…… สั้นๆก็คือเซนเซอร์จะจับว่าวัตถุเคลื่อนที่เร็วแค่ไหนและนำไปแสดงผลบนRokokoอีกที

gyroscope คือเซนเซอร์ที่ตรวจจับการเคลื่อนไหวของวัตถุโดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกในการตรวจจับทิศทาง โดยมันจะอาศัยโรเตอร์ (Rotor) ที่ถูกตรึงเอาไว้ในกรอบเซนเซอร์ ซึ่งตัวโรเตอร์จะสามารถขยับได้เมื่อมีแรงมากระทำ เมื่อตัวโรเตอร์ “แตะ” กับเซนเซอร์ที่อยู่ตามกรอบ ก็จะสามารถนำค่าข้อมูลที่ได้ไปคำนวณออกมาเป็นผลลัพธ์ข้อมูลทิศทางที่อุปกรณ์เคลื่อนที่ได้……สั้นๆก็คือ เซนเซอร์ตัวนี้มีหหน้าที่ในการตรวจจับองศาของการเคลื่อนที่

เซนเซอร์สองตัวนี้จะทำงานประสานกันเพื่อทำการคำนวนผลของการเคลื่อนที่และเชื่อมความสัมพันธ์ของแต่ละจุดเพื่อที่จะสร้างการเคลื่อนที่ให้สอดคล้องกับร่างกายผู้สวมใส่ซึ่งทั้งชุดจะประกอบไปด้วยเซนเซอร์ทั้งหมด19จุด(1จุดจะมีสองเซนเซอร์อยู่ที่เดียวกัน)โดยจะไปติดตามจุดสัมคัญต่างๆของร่างกายเช่น ไหล่ ข้อมือ ข้อเท้า เป็นต้น

Rokoko Smartsuit ProII มีดีอะไร?

การที่Smartsuit ProIIใช้การทำงานของเซนเซอร์สองตัวดังกล่าวมาทำงานทำให้สามารถลดพื้นที่ของอุปกรณ์ลงได้ ซึ่งเซนเซอร์ตัวดังกล่าวมีขนาดที่ค่อนข้างเล็กและน้ำหนักเบาจึงทำให้ตัวชุดสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องต่อสายกับคอมพิวเตอร์หรือเสียบปลั๊กให้วุ่นวาย เพียงแค่เสียบกับ Powerbankก็จ่ายไฟเพียงพอทั้งชุดให้ทำงานได้หลักชั่วโมง และด้วยความที่ชุดไม่จำเป็นต้องต่อสายทางชุดมีระบบการทำงานผ่านWifiที่ทำให้การทำmotion captureนั้นสามารถทำได้ในทุกๆที่ที่มีWifiเข้าถึงบวกกับคอมพิวเตอร์อีก1เครื่องเท่านั้น และการใช้เซนเซอร์เป็นชุดนั้นทำให้มีราคาที่สามารถจับต้องได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับระบบอื่นๆ

และด้วยSmartsuit ProIIนั้นเป็นชุด Bodysuit ที่สามาปรับขนาดให้เข้ากับสรีระที่หลากหลายโดยที่ชุดจะมีขนาดS,M,L โดยที่แต่ละขนาดสามารถปรับให้รองรับได้หลายสรีระ และการที่เซนเซอร์มีขนาดเล็กทำให้การเคลื่อนไหวมีความแม่นยำตรงตามการเคลื่อนไหวจริงๆของผู้สวมใส่

ข้อดีของชุดRokoko Smartsuit proIIที่ทำให้เป็นที่นิยม

-ทำงานที่ไหนก็ได้ เพียงแค่ต่อWifi ไม่จำเป็นต้องตั้งStudioสำหรับการทำmotion capture
-ตัวชุดมีน้ำหนักเบา ปรับขนาดได้หลากหลายสรีระ ทำให้การเคลื่อนไหวทำได้ลื่นไหล
-ตัวชุดไม่กินไฟเพราะด้วยเวนเซอร์ขนาดเล็กมาก ใช้ไฟเพียงแค่Powerbankเพียง1อัน
-ราคที่ถูกมากเเมื่อเทียบกับระบบอื่นๆ

รับรู้ข้อจำกัดของ Rokoko Smartsuit ProII

แม้ว่Motion captureแบบที่ใช้เซนเซอร์บนชุดจะมีข้อดีพอสมควร แต่ก็มีข้อจำกัดอยุ่ด้านหนึ่งก็คือ ด้านการเคลื่อนไหว

การเคลื่อนไหวที่มีความซับซ้อนสูงทำให้การใช้งานระบบเซนเซอร์นั้นอาจจะโหดเกินไปหน่อยอเพราะด้วยเซนเซอร์แต่ละตัวทำการคำนวนค่าพร้อมกันและยังต้องเชื่อมต่อความสัมพันธ์ของเซนเซอร์แต่ละตัวอีกทำให้ความแม่นยำลดลงได้อย่างมาก เช่น การตีลังกา เต้นBreakdance หรืออย่างการจับMotionแบบลอยตัว(เหาะเหินเดินอากาศ)ทำได้ยาก เพราะตัวเซนเซอร์gyroscpoeนั้นทำงานโดยอาสัยแรงโน้มถ่วมเป็นหลัก จึงอาจทำให้การทำmotion captureต้องอยู่บนพื้นเป็นหลัก
การขึ้นบันได วิ่ง กระโดดยังทำได้ปกติครับ

การเต้นBreakdanceจำเป็นต้องให้Mocapระบบopticเนื่องจากเป็นการเคลื่อนไหวที่มีความซับซ้อนสูง

สรุป
Rokoko Smartsuit ProII นั้นเหมาะกับเหล่าAnimatorที่ต้องการชุดMotion captureสักชุดนึงเพื่อเริ่มต้นโปรเจกต์เพราะด้วยชุดรารคาจับต้องได้และใช้งานที่ง่ายมากและสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ด้วยการที่ชุดใช้เป็นระบเซนเซอร์นั้นก็มีข้อจำกัดพอสมควรซึ่งหากโปรเจกต์ที่ต้องการต้องมีการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนมากๆอาจจะไม่ตอบโจทย์ได้มากนัก

[produscts ids=”290,291,1640″]

Leave a Reply