Space of the week EP4. สวนกัลปพฤกษ์ โครงสร้างสะพาน SLAM100

Space of the week EP4. สวนกัลปพฤกษ์ โครงสร้างสะพาน SLAM100

Space Scan Weekly สัปดาห์นี้เป็นครั้งแรงกับการสแกนสถานที่ด้วย SLAM100 เราไปกันที่สวนสาธารณะกัลปพฤกษ์ ที่เลือกสแนกที่นี้เนื่องจากมีสะพานพาดผ่าน สามารถสแกนเก็บตอหม้อ ต้นไม้ และ ส่วนประกอบต่างๆของสถานที่ ต้องการดูพื้นที่สะพานและความต่างระดับ

ตั้งใจจะสแกนเก็บพื้นที่สอนสะพาน ไม่ได้เก็บทั้งหมดของสวน วงเยอะหน่อยในส่วนสะพานต่างระดับ

ขั้นตอนการสแกน

การสแกนสามารถสร้างเป็น Patterm มาตรฐานได้ดังนี้ ก่อนสแกน — วางแผนศึกษาพื้นที่ต้องการสแกน อาจจะจาก Google Maps  ขณะสแกน — เดินให้ครบ Loop เริ่มและจบด้วยจุดเดียวกัน เดินเป็นวงกี่ Loop ก็ได้แต่ขอให้เริ่มกับจบจุดเดียวกัน หลังสแกน — นำไฟล์ที่ได้มาประมวลด้วย PC จะได้ Point Cloud ที่ละเอียดแม่นยำมากขึ้น

Pre-Scan วางแผนงานสแกน

เราได้โจทย์จากลูกค้าที่ทำงานก่อสร้าง และ Survey มาคือสแกนเก็บพื้นที่มีต้นไม้ และ ทางต่างระดับให้หน่อย จะดูระยะการสแกนและความเร็วในการสแกน เราเลือกสวนกัลปพฤกษ์ เพราะว่าตอบโจทย์ส่วนที่ลค.ต้องการ  ตัวเป้าเป็นการเดิน เป็น Loop การเดินคล้ายเลข 8

เราเปิด Google Map ก่อนเลือกเพื่อศึกษาหน้างานว่าควรจะต้องเดินอย่างไง ส่วนไหนสำคับอาจจะเดินซ้อนทับหลายครั้งหน่อย (ติดเดินซ้อนทับ ไฟล์ที่ได้ช่วงนั้นๆจะยิ่งละเอียดและ มี Point Cloud ในการทำงานมากขึ้น)

เปิดจาก Google Map เพื่อศึกษาการเดินเบื้องต้นก่อน ส่วนไหนที่ต้องการข้อมูลเยอะให้เดินช้าหน่อย หรือ เดินวนมาซ้อนบ่อยหน่อย เราจะได้แผนในใจคร่าวๆ

Scan เดินรวดเดียวจบ ด้วย SLAM100

เราเริ่มต้นการสแกนตามแผน แสงวันนี้ไม่ค่อยสวย ฟ้าเป็นมีขาวเพราะมีเมฆเยอะ  เราเลือกจุดเริ่มและจุดสุดท้ายอยู่ตำแหน่งใต้ตอหม้อพอดี (เป็นส่วนที่เน้นอยากสแกนมากที่สุด)

กำหนดจุดเริ่มต้นเป็น ตอหม้อสะพานเลย เพราะอยากได้ข้อมูลตรงส่วนนี้เป้นสำคัญ

พอดีเวลาที่เราไปนั้นเกือบเที่ยงแล้วสวนไม่ค่อยมีคน เราสแกนได้รวดเดียวจบไม่ต้องหยุดรอให้คนเดินผ่าน หรือ หยุดรอรถ อันนี้ถือว่าโชค แต่หากมีคนหรือรถเยอะมาก อาจจะใช้เวลามากกว่าสัก 10-15%

ลองให้น้องผู้หญิงลองสแกนดูทำได้ แม้ติว่าหนักไปหน่อย
ท่าที่ถุกต้องคือจับ 2มือสแกน

Post-Scan นำข้อมูลการประมวลผลด้วย PC

เราเอาข้อมูลที่ได้จากการสแกนมาประมวลผลอีกทีด้วยคอมพิวเตอร์ ใช้เวลาประมาณ 10นาทีได้ผลลัพธ์ออกมา

ผลที่ออกมาจากการสแกนจริงๆ จะเห็นว่าใกล้เคียงกับที่วางแผนสแกนไว้

Result ผลลัพธ์ที่ได้

  • งานสแกนที่ได้ มีจำนวน Point Cloud 103ล้านจุด
  • กินพื้นที่ประมาณ 5ไร่
  • ใช้เวลาในการสแกน 12นาที
  • เก็บส่วนโครงสร้างได้ทั้งใต้สะพาน และ อาคารในสวนสาธารณะ
  • ไฟล์ 3มิติที่ได้มาสามารถนำไปทำต่อ ได้อีกมากมาย เช่น Revit, Geomagic, Agisoft Metashape, Unreal, SketchUp เป็นต้
  • ถ้าจะใช้แค่วัดขนาดสามารถทำได้ที่ Software ที่ให้มากับเครื่องเลย
  • ตย. วัดความสูงของเสาไฟส่องสว่างได้ 24.627200เมตร
  • บริการสร้างโลกเสมือน Virtual World Package เพิ่มยอดขาย เพิ่มการมองเห็น

    เริ่มต้น 8,000
    Add to cart
  • Matterport Axis Gimbal + Tripod สำหรับถ่ายภาพ 360

    พร้อมส่ง!!฿4,490.00
    Add to cart
  • Sale!

    Matterport Pro2 (2022 edition) 3D Camera for 360Tour

    ฿99,900.00
    Add to cart
  • Sale!

    Matterport Pro3 3D Camera For 360Tour

    ฿239,000.00
    Add to cart
  • SLAM100 Handheld Lidar Scanner | Space Capture แบบมือถือระดับโปรเครื่องแรกที่ต่ำกว่าล้าน

    ฿779,000.00
    Add to cart
  • Leica BLK360 กล้อง Lidar 360 คุณภาพสูงจาก Leica

    โปรดสอบถาม
    Add to cart
  • Leica BLK2GO Survey Scanner แบบ Handheld ตัวแรกของโลก

    โปรดสอบถาม
    Add to cart
  • Agisoft Metashape Standard/Professional (Photogrammetry Software)

    ฿8,990.00฿139,000.00
    Select options
Point Cloud บริเวณที่สนใจ คือสะพานต่างระดับ
Color Point Cloud ที่ได้ เราสามารถเลือกจุดที่เราสนใจดู เช่นในภาพเลือกจุดสะพานข้ามคลองเล็กๆในสวนสาธารณะ
สามารถดู Point Cloud แบบ Elevation ไล่สีตามความสูง ด้านขวามือเป็นภาพพาโนราม่าที่มาจากเครื่องด้วย
เลือกดู Section เป็นส่วนๆ ด้วยเครื่องมือ Proflie
ดูอีกมุมองหนึ่ง
วัดความสูงของเสาไฟส่องสว่างได้ที่ 24.627200เมตร