แกะสลักแม่พิมพ์พระ “สมเด็จโต” ด้วยระบบเลเซอร์ 3มิติ | Ray mark 3D

แกะสลักแม่พิมพ์พระ “สมเด็จโต” ด้วยระบบเลเซอร์ 3มิติ | Ray mark 3D

” วัตถุมงคล “ หนึ่งในเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจอันเป็นที่นิยมของชาวพุทธผู้มีความเชื่อ ความเลื่อมใสศรัธา ซึ่งอยู่คู่มากับวัฒนธรรมไทยมาช้านาน วัตถุมงคลนั้นถ้าแปลง่ายๆก็คือ วัตถุอันเป็นมงคล
ซึ่งอาจมีรูปแบบที่แตกต่างออกไปในแต่ละภูมิภาค แต่โดยมากแล้ว มักจะมีที่มากจากวัด หรือสถาณที่อันศักสิทธิ์ต่างๆ อาจเป็นสิ่งที่ได้มาจากเกจิอาจารย์ หรือสิ่งที่ผ่านพิธีกรรมอันเป็นมงคล
ซึ่งมักจะเกี่ยวเนื่องกับทางพระ ทางธรรม ทางพุทธศาสนาเป็นหลัก ซึ่งจะแตกต่างจากเครื่องรางของขลังที่ เกิดจากการบูชาสิ่งอื่นๆ ที่นอกเหนือจากนี้ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ล้วนขึ้นอยู่กับความเชื่อ
ความศรัทธาของผู้คนที่แตกต่างกันไป ไม่มีใครถูกใครผิด ขึ้นอยู่กับความสบายใจ

ขอขอบคุณภาพจาก www.google.com

หนึ่งในวัตถุมงคลที่เป็นที่นิยมไม่น้อย เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินนั่นก็คือ ” พระเครื่อง “ ซึ่งมาจากคำว่าพระเครื่องราง วัตถุมงคลที่สร้างเพื่อให้เพื่อเป็นที่พึ่งที่ระลึกทางใจ โดยที่บนพระเครื่อง
อาจเป็นพระพุทธรูป หรือเกจิอาจารย์ที่มีบรรดาศิษยานุศิษย์เลื่อมใสศรัธทา ซึ่งวัตถุประสงค์ของผู้นิยมชมชอบพระเครื่อง ไม่เพียงแค่ใช้เป็นที่พึ่งที่ระลึกทางใจเท่านั้น แต่ยังมีในด้านของความเชื่อ
ในเรื่องของพุทธคุณ เมตตามหานิยม อิทธิ์ฤิทธิ์ ปาฏิหารย์ เช่น แคล้วคลาด, อยู่ยงคงกระพัน หรือแม้กระทั่งการบันดาลให้เกิดโชคลาภหรือ ช่วยเรื่องการทำมาค้าขายเป็นต้น ซึ่งคนที่ชอบสะสม
หรือนิยมพระเครื่องนี้ ก็มีหลากหลายกลุ่มคน ตั้งแต่พ่อค้าแม่ขาย พนักงานบริษัทไปยันนักธุรกิจเจ้าของกิจการ หรือแม้กระทั่งชาวต่างชาติที่ชอบในด้านความสวยงามทางศิลปวัฒนธรรม
นับว่าพระเครื่องนี้มีมูลค่าทางธุรกิจอยู่ไม่น้อย

ขอขอบคุณภาพจาก www.google.com

สำหรับการสร้างพระเครื่องจะใช้วิธีการทำแม่พิมพ์หรือโมลขึ้นมาโดยใช้โลหะที่มีลักษณะแข็งเป็นพิเศษสาหรับทำพิมพ์พระ จากนั้นจะใช้มวลสารอันเป็นมงคลบตามความเชื่อ มาใช้ปั๊มด้วยแม่พิมพ์
เพื่อผลิตเป็นจำนวนมาก ในการทำแม่พิมพ์สำหรับงานปั๊มพระ ปั๊มเหรียญที่ระลึก วิธีที่ใช้กันเป็นหลักในปัจจุบันคงหนีไม่พ้นก็ต้องเป็นเครื่องแกะสลัก CNC เครื่องที่ทำงานโดยใช้ดอกกัด
ที่หมุนด้วยความเร็วสูง สามารเคลื่อนที่ในแนวบน-ล่าง ซ้ายขวา นับว่าเป็นเครื่องมืที่ถูกใช้ในงานแกะแม่พิมพ์มานาน แต่วันนี้เราจะขอแนะนำทางเลือกใหม่ด้วยการใช้เครื่องแกะสลัก 3 มิติ
ที่เพิ่งเข้าไทยมาได้ไม่นานอย่างเจ้า Ray Mark 3D เครื่องแกะสลัก 3มิติ ระบบเลเซอร์กำลังสูง Laser Engrave 60W JPT ที่ต้องขอบอกเลยว่าเป็นเครื่องมือที่สร้างมิติใหม่ให้กับวงการอุตสาหกรรม
การผลิตงานแม่พิมพ์โลหะ อย่างมากเลยทีเดียว

เครื่อง Ray Mark 3D Laser Engrave 60W JPT

 

แล้ว CNC กับเครื่อง Laser ต่างกันยังไง?
ก่อนอื่นก็ต้องมาทำความรู้จักการทำงานของเครื่องทั้ง 2 ตัวนี้ก่อน เริ่มจากเครื่องแรก เครื่อง CNC ที่หลายคนคงคุ้นเคยกันอยู่แล้วว่าทำงานโดยใช้ดอกกัดคล้ายดอกสว่าน หมุนด้วยความเร็วสูง
จากนั้นทำการกัดชิ้นงานไปทีละชั้นและลงลึกไปเรื่อยๆ โดยตัวหัวกัดสามารถวิ่งไปตามทิศทาง ซ้าย-ขวา หน้า-หลัง และบนลงล่างโดยอ่านจากไฟล์ที่นำมากัดชิ้นงาน ซึ่งดอกกัดจะต้องมีการเปลี่ยนไป
ตามขนาดของพื้นที่ ที่จะกัดหากมีพื้นที่ ที่ต้องกัดออกแยะก็จะต้องใช้ดอกใหญ่หากต้องการ Detail ที่เล็กลงก็ต้องเปลี่ยนไปใช้ดอกเล็กแทน การทำงานโดยเครื่อง CNC จึงจำเป็นต้องใช้เวลามาก
และควบคุมการทำงานโดยผู้ชำนาญ ส่วนเครื่องที่ 2 นั่นก็คือเครื่องเลเซอร์ ซึ่งอาจจะฟังดูใหม่กับงานกะสลักแต่ประสิทธิภาพนั้นไม่เบา โดยเครื่องเลเซอร์จะมีระบบการทำงาน โดยการกัดชิ้นงาน
ลงไปทีละชั้นเหมือนเครื่อง CNC แต่เครื่องเลเซอร์จะมีความแตกต่างกันตรงที่เครื่องใช้แสงเลเซอร์กำลังสูงในการกัด ซึ่งสามารถปรับระดับความแรงได้ตามการตั้งค่า ทำให้สามารถแกะสลังลงบนวัสดุ
ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เหล็ก อลูมิเนียม ทองแดง ทองเหลือง สแตนเลส โลหะอื่นๆ หินชนิดต่างๆ หรือวัสดุอโลหะอื่นๆได้อีกหลายชนิด


โดยข้อดีของเครื่องเลเซอร์อย่างแรกเลยก็คือการใช้แสงเลเซอร์ในการแกะสลักสามารถแกะได้ทั้งในส่วนของ Outline โดยรวมไปจนถึง Detail ขนาดเล็ก ไม่ต้องมีการเปลี่ยนดอกกัด
เหมือนเครื่อง CNCโดยเจ้าเครื่อง Ray Mark 3D Laser Engrave 60W JPT นีเองสามารถแกะสลักพื้นพื้นที่ได้มากถึง 110 mm x110 mm (150 Optional ) นับว่าครอบคลุมงานการทำพิมพ์พระ
ได้อย่างสบาย และอีกจุดเด่นของ Raymark 3D นั่นก็คือสามารถแกะสลักรายละเอียดเล็กๆได้ เช่น ตัวหนังสือเล็กๆบนเหรียญพระ หรือลายไทยที่มีความเแหลมและเล็ก หรือแม้กระทั่งลวดลายเล็กๆ
บนพื้นผิว ก็สามารถทำได้ ซึ่งรายละเอียดเล็กๆเหล่านี้เครื่อง CNC จะไม่สามารถทำได้เนื่องจากบางจุด ดอกกัดจะไม่สามารถเข้าถึงเพราะมีขนาดใหญ่เกินไป แต่ถ้าหากเป็นเครื่องเลเซอร์
ที่สามารถยิงลำเล็กขนาดเล็กได้ทำให้สามารถสร้างานที่มีความคมชัดสูงได้ เห็นได้ชัดว่าเหมาะกับงานการทำพิมพ์พระอย่างมาก โดยวันนี้เราจะแชร์ตัวอย่างงานแกะพิมพ์พระ
ด้วยเครื่อง Ray Mark 3D ให้ดูกัน จะมีประสิทธิภาพมากแค่ไหนไปดูกันได้เลย

นำไอเดียการ Reverse Engineering มาใช้เพื่อเอาพระเก่ากลับมาสร้างใหม่
ต้นแบบของการสร้างพิมพ์พระในวันนี้ต้องขออนุญาติใช้พระผง “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)” มาเป็นแบบเพื่อเป็นกรณีศึกษาให้ดูกัน โดยจะขอแชร์ขั้นตอนการทำงาน โดยใช้ไอเดีย
ของการทำ Reverse Engineering มาใช้ให้ดูเป็นตัวอย่าง เพื่อเป็นไอเดียให้ใครที่ต้องการนำพระเก่ามาสร้างใหม่ หรือนำมาทำเป็นรุ่นอื่นๆที่แตกต่างกันเพิ่มเติม โดยวิธีที่เราจะใช้นั่นก็คือการแสกน
ด้วยเครื่องแสกนวัตถุ 3 มิติ โดยเครื่องจะทำการยิงแสงอิฟาเรดไปแสกนวัตถุจากนั้นประมวลผลออกมาเป็นไฟล์ 3 มิติให้เรา

พระผง “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)” ที่จะนำมาทำพิมพ์

 

การแสกนด้วยเครื่องแสกน 3 มิติ

เราสามารถนำไฟล์ที่ได้จากการแสกนเพื่อมาปั้นเพิ่มเติม อาจเติมรายละเอียดให้ดูชัดขึ้น หรือปรับรูปทรงให้ดูเล็กหรือใหญ่ขึ้น แก้ไขตัดทอนหรือเพิ่มเติมส่วนอื่นเข้าไป ซึ่งวิธีการนี้ไม่จำเป็น
ว่าต้องนำพระเก่ามาแสกนเพื่อทำพระใหม่เท่านั้น เรายังสามารถใช้องค์พระทั้งองค์นำมาแสกน แล้วนำไฟล์ 3 มิติไปแปลงให้เป็นงานนูนต่ำเพื่อนำไปแกะสลักอีกทีก็ได้ หรือแม้กระทั่งนำคนจริงๆ
ไปเข้าเครื่องแสกนคน เพื่อนำมาทำพิมพ์พระก็ยังได้ หรือเราอาจใช้กระบวนการนี้ในการแปลงจากงานปั้นจริงไปเป็นไฟล์ 3 มิติ สำหรับนำไปใช้งานกับเครื่องเลเซอร์ได้ ทั้งหมดนี้ก็เป็นตัวอย่างไอเดีย
สำหรับวิธีการเตรียมไฟล์สำหรับสร้างพิมพ์พระด้วยเครื่องเลเซอร์

ไฟล์ที่ได้จากการแสกน ก่อนทำการคลีนไฟล์
ตัวอย่างการนำไฟล์พระที่ได้จากการแสกนมาทำเป็นงานนูนต่ำ เพื่อนำไปเลเซอร์

ขั้นตอนการทำงาน
หลังจากได้ไฟล์ 3 มิติที่ได้จากการแสกนมา ในส่วนของรายละเอียดอาจจะลดทอนไปจากชิ้นงานจริงลงบ้าง เราอาจต้องมาปั้นแต่งด้วยโปรแกรมปั้น 3 มิติกันซักหน่อย และอีกอย่างที่เราจะแก้ไข
นั่นก็คือในส่วนของขนาด เพราะพระที่เรามี มีขนาดแตกต่างกันกับตัวบล็อคแม่พิมพ์ที่เราจะไปแกะ เราจะทำการย่อและตัดทอนในส่วนของที่นั่งออก เพื่อให้พอกับกรอบพื้นที่งาน นอกจากนั้น
จะทำการสร้างตัวอักษร 3 มิติขึ้นมาใหม่ เพราะจะคมชัดกว่าการคลินไฟล์ 3 มิติ รวมถึงกรอบและลายยันต์ด้านหลังที่ถูกดราฟและสร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อความคมชัดสูงสุด

ไฟล์ 3 มิติที่ได้รับการคลีนแล้ว และสร้างตัวอักษรกับยันต์ขึ้นมาใหม่โดยอิงจากของเดิม

ขั้นตอนต่อไปเราจะต้องแปลงไฟล์ 3 มิติเป็นภาพ Bitmap สำหรับไปใช้กับเครื่องเลเซอร์ โดยก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจการทำงานของการแปลงไฟล์ 3 มิติ เป็นภาพกันก่อนโดยไฟล์ 3 มิติ
จะถูกเปลี่ยนเป็นภาพด้วยการ Render เป็น Depth Map หรือการประมวลผลภาพตามความลึกนั่นเอง โดยส่วนที่นูนที่สุดจะเป็นสีขาว และส่วนที่ลึกที่สุดจะเป็นสีดำ ส่วนที่ไล่ระดับสูงต่ำต่างๆ
ก็จะเป็นนสีเทา

ภาพที่ได้จากการ Render ไฟล์ 3 มิติด้วย Depth Map

หากเรานำภาพที่ได้นี้ไปเลเซอร์ จะเป็นการกัดพื้นที่สีดำรอบๆลึกลงไปโดยเว้นส่วนที่เป้นพระไว้ แต่งานของเราคือการแกะแม่พิมพ์พระ เราจึงจะต้องกลับสีภาพให้สีขาวและสีดำสลับกัน
เพื่อที่จะได้เป็นการเลเซอร์แกะในส่วนของพระลึกลงไปและเว้นพื้นที่รอบๆไว้แทน เมื่อมีการกลับภาพอย่าลืมที่จะ Flip ภาพจากซ้ายไปขวาด้วยเพื่อที่ตัวอักษรที่ปั๊มพระออกมาจะได้ไม่กลับด้าน

ไฟล์ที่กลับสีและ Flip ด้านแล้วพร้อมนำไปเลเซอร์

จากนั้นสามารถส่งไฟล์ภาพของเราไปทำงานกับโปรแกรมเลเซอร์ได้เลย โปรแกรมจะทำการประมวลผล Layer หรือชั้นที่จะยิงลึกลงไปจาก ภาพ Gray Scaleทั้งหมด 255 ระดับ
เท่ากับได้ เลเยอร์ที่จะใช้ในการยิงทั้งหมด 255 ชั้น โดยในแต่ละเลเยอร์โปรแกรมจะประมวลผลออกเป็นสีขาวและดำ ในส่วนของพื้นที่สีขาว คือส่วนที่จะไม่ถูกเลเซอร์
ส่วนพื้นที่สีดำคือส่วนที่จะถูกเลเซอร์

ตัวอย่างการประมวลผลของโปรแกรม โดยแปลงจากภาพ Bitmap เป็น Layer สำหรับเลเซอร์ 255 ชั้น

วัสดุที่เราใช้กันในวันนี้คือเหล็กคาร์บอนที่มีความแข็งกว่าเหล็กทั่วไป ซึ่งเป็นวัสดุที่เหมาะสมที่นิยมเอามาทำแม่พิมพ์ เพราะเนื่องจากตัวพิมพ์จะต้องถูกนำมาปั๊มพระเป็นร้อยเป็นพันองค์ ตัวแม่พิมพ์
จึงต้องมีความแข็งทนทานเป็นพิเศษ การทำงานในส่วนของการเลเซอร์เราจะทำการตั้งค่าในส่วนความเร็ว กำลัง และความถี่ ให้เหมาะสมกับตัววัสดุจากนั้นก็ทำการเล็งด้วย Laser Guide
ให้อยู่ตรงกึ่งกลาง โดยเราจะแกะพิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังที่เป็นตัวยันต์ ด้วยความที่วัสดุค่อนข้างแข็งและมีมวลมาก .ปกติแล้วจะต้องใช้เวลาในการแกะนานประมาณ 4 -5 ชม.
แต่ด้วยงานของเรามีขนาดเล็ก ( 2.5X3 ซม.) จึงทำให้ใช้เวลาไม่นานมากโดยที่ตัวด้านหน้าเหรียญใช้เวลาไปเพียง 2.40 ชม.เท่านั้นเอง

การทำงานขณะเลเซอร์ด้านหน้า
การทำงานขณะเลเซอร์ด้านหลัง

ผลลัพธ์แม่พิมพ์โลหะที่แกะด้วยเครื่อง Ray Mark 3D

เมื่อพิมพ์แกะเสร็จแล้วอาจมีคราบเขม่าจากการเลเซอร์อยู่บ้าง เราจะทำการทำความสะอาดพื้นผิวก่อนนำไปใช้ปั้มจริง ในส่วนนี้อาจทำการแต่งพิมพ์เพิ่มเติมให้สวยเนียนขึ้นได้
จากนั้นเราจะทำการทดลองปั๊มพระจริง โดยวัสดุตัวอย่างจะใช้เป็นดินสำหรับปั้นโมเดล เมื่อทิ้งไว้จะสามารถแห้งแข็งได้ เราจะทาน้ำมันที่ตัวพิมพ์ด้วย เพื่อที่ตัววัสดุที่นำมาปั้มพระไม่ติดตัวพิมพ์
และเมื่อใช้งานพิมพ์เสร็จก็ควรทาน้ำมันเพื่อรักษาชิ้นงานไม่ให้เป็นสนิม สำหรับเก็บไว้ใช้ใช้งานต่อไป

ผลลัพธ์การปั๊มพระ ด้วยพิมพ์โลหะที่แกะด้วยเครื่อง Ray Mark 3D