เทคนิค Mocap ในเรื่อง Avatar ที่ไม่ใช่แค่ภาพยนต์แต่เป็นการสร้าง “ประสบการณ์”

เทคนิค Mocap ในเรื่อง Avatar ที่ไม่ใช่แค่ภาพยนต์แต่เป็นการสร้าง “ประสบการณ์”

ในปี 2009 ภาพยนตร์ Avatar  ได้รับฉายาว่า “ยกระดับการเคลื่อนไหว ให้เป็นการแสดง ” ที่ผู้กำกับ James Cameron ได้ให้ชื่อเทคนิคนี้ว่า“Performance Capture” ในยุคนั้นถือว่าเป็นการพัฒนาสูงสุดของภาพยนตร์ 3มิติ การันตีด้วยออสการ์ในสาขาวิช่วลเอฟเฟ็กต์  ของจริงมีให้เห็นสมัยนั้นบอกเลยว่าภาพสวยตาแตกขนาดที่สร้างตัวละครสมจริงระดับ Photorealistic 3D พร้อมกับสร้างโลกในฉากหลังที่มีความสมจริงระดับเดียวกันขึ้นมาทั้งหมด ตลอดจนพัฒนาทั้งซอฟท์แวร์และอุปกรณ์ใหม่ๆ เพื่อการถ่ายทำ Performance Capture ที่มีขอบเขตใหญ่โตและละเอียดซับซ้อนยิ่งขึ้น

จุดเริ่มต้นของภาพยนตร์เรื่อง Avartar นั้นเกิดจากประสบการณ์ในวัยเด็กของ James Cameron บวกกับจินตนาการและนิสัยรักธรรมชาติของเขา และในปี 1996 James Cameron ได้ประกาศสร้างภาพยนต์ Avatar ด้วยงบ 100ล้านบาท (จากค่าย 20th century fox ) ถ่ายทำในปี 1997 และพร้อมฉายในปี 1999 อย่างไรก็ตามโปรเจคนี้ก็ต้องถูกพักไปเพราะเทคโนโลยี 3มิติในตอนนั้นยังไม่สามารถเนรมิตความฝันของ James Cameron ได้

ต่อมาในปี 2000 ได้มีภาพยนตร์ที่ใช้หลากหลายเรื่องที่มีการใช้เทคนิค Mocap อีกทั้งสมัยนั้นเทคนิคนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับการในวงการภาพยนตร์สักเท่าไหร่ โดยมีความคิดว่า “เหมือนเป็นเทคนิคลักไก่ ไม่ได้ใช้คนแสดงจริง”  แต่ก็มีภาพยนตร์หลายเรื่องที่ได้รับความนิยม 1ในภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมสมัยนั้นคือเรื่อง The Lord Of The Ring ของผู้กำกับ Peter Jackson ที่มีตัวละครที่ชื่อว่า “กอลั่ม” ซึ่งเป็นตัวละครที่ใช้คนแสดงจริงผสมกับเทคนิค Mocap จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารมากมาย รวมไปถึง James Cameron เองก็เช่นกัน

ต่อมา James Cameron ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์เรื่อง The Lord Of The Ring และตกผลึกได้ว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องสร้าง Avatar หลังจากนั้น James Cameron ได้เริ่มพัฒนาในปี 2005 ที่ถ่ายทำโดยใช้เทคนิค Mocap (แต่เขากำชับว่าต้องเรียกว่า Performance Capture เท่านั้น) ร่วมกับนักแสดงใส่ชุด Motion Suit และมีการจำลองสภาพแวดล้อมที่เรียกว่า “The Volume” อุปกรณ์ที่ James Cameron คิดพัฒนาจนนำมาใช้ในการถ่ายทำนั่นก็คือให้นักแสดงสวมกล้อง Perf Cap ขนาดเล็กลงบนศีรษะเพื่อเก็บข้อมูลการแสดงความรู้สึกบนใบหน้าได้อย่างสมบูรณ์แบบ ทำได้ง่ายและสะดวกก แทนการติด Tag บนใบหน้าที่จะสามารถแสดงอารมณ์ได้แม่นยำและไม่เป็นอุปสรรคให้กับนักแสดง

Avatar ภาคแรกเข้าฉายในปี 2009 และประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม จัดเป็นภาพยนตร์ 3มิติมีภาพสวยที่สุดในโลก เหมือนสร้างประสบการณ์ให้คนดูหลุดเข้าไปใน Pandora จริงๆ ที่สำคัญยังเป็นภาพยนตร์ที่ทำสถิติด้านรายได้มากมายสูงสุดตลอดจนทุกวันนี้ นี่แหละคือที่มาของคำว่า “สร้างหนัง เมื่อพร้อม”

นอกจากนี้สิ่งที่ทำให้ Avatar2 The Way of Water ทิ้งห่างจากภาคแรกถึง 13 ปี เพราะJames Cameron ต้องการยกระดับทุกอย่างและการเล่าเรื่องในแง่มุมใหม่ๆ ท้าทายตัวเองโดยการย้ายโลเคชั่นจากในพื้นป่าลงในพื้นน้ำในเขตชนเผ่าประการัง(เป็นความชอบโลกใต้บาดาลเป็นทุนเดิม) มีการสร้างเทคโนโลยีใหม่ขึ้นมาเพื่อถ่ายทำโมชันแคปเจอร์ใต้น้ำโดยเฉพาะ สามารถเก็บสีหน้าอารมณ์ของนักแสดงได้สมจริงมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนาและคิดค้นโดย Wētā FX บริษัทของผู้กำกับ Peter Jackson ที่เคยทำวิชวลเอฟเฟกต์ให้กับ Avatar ภาคแรก

การถ่ายทำ  James Cameron ใช้ระบบ Virtual Camera System มาผสานการถ่ายทำ(คล้ายกับภาพแรก)แต่รอบนี้จะสามารถมองเห็นผ่านจอว่าในหนังจริง ๆ จะเห็นวัตถุอะไรบ้าง และการแสดงที่นักแสดงใส่สกินชาวนาวีจะออกมาเป็นแบบเรียลไทม์ และยังมีความต่อเนื่องของสิ่งต่างๆอย่างเช่น แสง และยังสามารถกำหนดย้ายวัตถุรอบตัวได้ ไม่ต้องสั่งคัทบ่อยๆและตัวเขาจะได้โฟกัสองค์ภาพรวมของทั้งหมดและอารมณ์ของตัวนักแสดงได้ละเอียดมากขึ้น ซึ่งการถ่ายทำในโลกจริงไม่สามารถทำได้ เป็นงบประมาณการถ่ายทำที่แพงหู่ฉี่ มีรายงานว่าหนึ่งช็อตที่มีความยาวเพียง 1-2 วินาทีเท่านั้น ใช้ทุนสร้างไปแล้ว 100,000 ดอลลาร์ หรือเกือบ 3.5 ล้านบาทด้วยกัน ดังนั้นการที่ทั้งเรื่องใช้เวลาและจำนวนเงินมหาศาลจึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้

หลังจากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการ Post-Production หรือใส่ CG อันยาวนาน ที่เรียกได้ว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญเป็นอย่างมากของหนังเรื่องนี้ และเป็นส่วนที่ต้องให้เวลาและลงรายละเอียดมากที่สุดเนื่องจากเป็นจุดขายของแฟรนไชส์ Avatar 

Jamesยังมองว่าเทคโนโลยีนี้ไม่ได้ลดคุณค่าของการแสดงหรือการถ่ายภาพยนตร์เลย(สมัยก่อนมีการแอนตี้หนังที่ใช้ CGI) ในตรงกันข้ามเทคนิดเหล่านี้จะมาช่วยยกระดับการทำหนังด้วยซ้ำ อีกทั้งการถ่ายทำระบบนี้ช่วยให้เห็นภาพรวมได้ดีมากขึ้น และยังสามารถปรับสเกลในต่างมุม กำหนดมุมกล้อง ไม่ต้องกังวลเรื่องการจัดแสดง คอสตูม

ไม่ว่าจะ 13ปีที่แล้วหรือในปัจจุบัน Avatar ก็ยังถือเป็นภาพยนตร์ Animation ที่มีภาพที่สวยที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้ ด้วยภาพความธรรมชาติที่ผสมผสารกับโลกแฟนตาซีที่ทำให้เราเชื่อว่าเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริงบนโลก ซึ่งในภาพและเนื้อหาหลักๆเลยจะเป็นการพาทัวร์ธรรมชาติ ความสวยงามตามความต้องการของผู้กำกับ James Cameron โดยสิ่งที่ทำให้ต้องนิยามว่า “Avatar ไม่ใช่หนัง แต่เป็นประสบการณ์” ในแง่ของรายได้เวลาจะบอกเองว่าคุ้มค่าไหม แต่ในเรื่องเสริมสร้างประสบการณ์ให้คนดูบอกเลยว่าคุ้มค่าแน่นอน


Leave a Reply