สร้างงาน BIM จาก Point cloud  ในโปรแกรม Revit l Space of the Week Ep.21

สร้างงาน BIM จาก Point cloud  ในโปรแกรม Revit l Space of the Week Ep.21

จากครั้งที่แล้วเราสาธิตการนำเข้าไฟล์ Point cloud  เข้ามาใช้งานในโปรแกรม Revit กันแล้ว วันนี้เราจะขอมาทดสอบการทำงานกันว่า Point cloud ที่เราไปสแกนมาจากสถานที่ต่างๆ จะสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพกันแค่ไหน โดยเราจะทำการสาธิตการสร้างสิ่งปลูกสร้างอย่างง่าย โดยที่ใช้จุดอ้างอิงจาก Point Cloud ที่เราได้จากการสแกนจากเครื่องมือสุดทันสมัยอย่าง Slam 100 ซึ่งมีความสามารถในการสแกนสุดน่าทึ่ง เพราะสามารถเก็บรายละเอียดในจุดเล็กๆ น้อยได้เป็นอย่างดี ด้วยการสร้าง point cloud ได้มากถึง 360,000 จุด / วินาที

หลังจากการนำเข้าไฟล์มาแล้วสิ่งที่อยากแนะนำก่อนการสร้างเลยก็คือการตรวจสอบพื้นในการสแกนก่อนสร้างงานเพราะ เราต้องเช็คก่อนว่าพื้นที่งานที่ได้นั้นคลอบคลุมกับขอบเขตที่เราต้องการหรือไม่ เพราะส่วนใหญ่เมื่อเริ่มงานไปแล้วนั้นอาจจะกลับมาแก้ไขนั้นอาจจะยากไปสักหน่อย โดยเฉพาะงานที่ต้องระบุพิกัดหรือกำหนดจุดต่างๆ

ขั้นตอนการสร้างงาน BIM

1. ขั้นตอนแรกคือการเริ่มต้นงานของเรา โดยเราสามารถคลิดที่คำว่า NEW จากนั้นเลือก Browse เพื่อเลือก Tempage โดยในแต่ละ Tempage นั้นก็จะถูกกำหนดว่าให้เหมาะสมในแต่ละงานของผู้ใช้งาน โดยในตัวอย่างนั้นเลือกเป็นแบบงาน Constrution ซึ่งเป็นรูปแบบพื้นฐานของการทำงาน

2. จากนั้นให้เราเรียกไฟล์ Point Cloud เข้ามาเพื่อเป็นตัวแม่แบบหรือเป็นข้อมูลอ้างอิงก่อนเริ่มออกแบบ โดยไปที่ Insert จากนั้นคลิกที่ Piont cloud ซึ่งเราสามารถนำเข้าไฟล์ .RCP ได้ทันที

3. โดยโปรแกรม จากแสดงภาพเป็นแบบ 2 มิติหรือคล้ายพิมพ์เขียวให้เราดู ซึ่งหากผู้ใช้งานอยากชมในรูปแบบ 3มิติ ให้กดไอคอนรูปบ้าน บริเวณด้านบนของจอ โปรแกรมจะแสดงออกเป็น 3 มิติทันที

4. จากนั้นเราจะทำการวัดพื้นที่ ของจุดที่เราต้องการทำงาน ในตัวอย่างจะเป็นการสร้างกำแพงเพื่อปิดทางจอดรด โดยกดที่คำสั่ง Wall ต่อด้วย Measure จากนั้นเราสามารถนำเม้าส์ไปคลิกที่จุดเริ่มต้นได้เลยและลากเมาส์ไปยังจุดสิ้นสุดของอีกฝั่งได้ทันทีโดยที่โปรแกรมนั้นจะแสดงค่าความยาวของสิ่งที่เราวัดได้แบบ Real time และยังมีโหมด Auto Snap ที่ช่วยให้เรานั้นสามารถคาดการแต่ละจุดได้แม่นยำขึ้นอีกด้วย

5. มาถึงขั้นตอนำการสร้างกำแพงกันบ้าง ซึ่งทุกคนสามารถกดที่คำสั่ง Structure และเลือกเครื่องมือ Wall ได้เลย ซึ่งในขึ้นตอนการสร้างกำแพงนั้นก็จะคล้ายกับการวัดความยาว คือการคลิกแล้วลากจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่ง

6. แน่นอนว่าในการทำงานนั้นย่อมมีการแก้ไขอย่างแน่นอน ซึ่งเราสามารถปรับขนาดต่างๆ ของกำแพงได้โดยที่คลิกบริเวณขอบมุมของกำแพง และยังสามารถเลื่อนตำแหน่งของกำแพงได้จากคำสั่ง MOVE (เครื่องหมายที่มีลูกศร 4 แฉก)

7. นอกจากนี้เรายังสามารถใส่รายละเอียดไปบนกำแพงได้อีกด้วย โดยไปที่แถบเครื่องมือ Properties ได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นใส่สีของกำแพง ใส่พื้นผิวหรือเพิ่มความเหมือนจริงให้กับกำแพงก็ทำได้ในเครื่องมือนี้

 

โดยสรุปแล้วในงานออกแบบเชิงวิศวกรรม หรืองานก่อสร้างที่ต้องใช้ความแม่นยำนั้น Piont cloud จากเครื่องสแกน Slam 100 นั้นสามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี เพราะด้วยความละเอียดถึง 360,000 จุดต่อวินาทีทำให้ได้ความละอียดอย่างมาก นอกจากนี้ความเร็วในการสแกนนั้นก็ถือว่าเร็วอยู่ในระดับของเครื่องสแกนระบบเดียวกันที่ราคาแพงกว่าถึง 5 เท่า  และยิ่งไปกว่านั้นการใช้งานบนโปรแกรม BIM นั้นก็สามรถนำไฟล์ออกมาใช้ได้อย่างไม่ยากนัก (คลิกที่นี่) และนอกจากโปรแกรม Revit ที่เรานำมาสาธิตกันในครั้งนี้แล้ว เรายังสามารถของไฟล์ piont cloud ไปใช้ได้กับโปรแกรมอื่นๆ ได้อีกด้วย เพราะไฟล์ .LAS นั้นถือว่าเป็นไฟล์ที่ได้รับในระดับสากล