Matterport กับงานด้าน Entertainment

Matterport กับงานด้าน Entertainment

ซึ่งประเด็นหลักๆ ที่เราจะมาพูดในวันนี้คือ ในการทำงานที่จะเนรมิต ภาพยนต์ เกม หรือแอนิเมชั่นขึ้นมาสักเรื่องนั้น สิ่งที่สำคัญพอๆ กันกับ ตัวละคร เรื่องราว หรือว่าตัวบทการดำเนินเรื่อง ก็คือฉาก โลเคชั่น หรือภาพจำลองสถานการณ์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้งานที่ออกมานั้น สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น มีอรรถรสในการรับชมมากยิ่งขึ้นนั่นเอง ซึ่งแต่ก่อนนั้นหากต้องการให้งานออกมาดูสมจริงนั้น ผู้ผลิตต้องเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อที่จะสำรวจ ถ่ายภาพ แล้วจึงนำกลับมาวางแผน จึงจะสามารถส่งให้ทีมอาร์ทสร้างสรรค์ขึ้นมานั่นเอง โดยรวมๆ แล้วก็น่าจะกินเวลามากกว่า3-6 เดือนจนกว่าจะสร้างเสร็จ

แต่ในผู้ผลิตบางรายก็สามารถที่จะสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้เร็วกว่านั้น ซึ่งความลับนั้นจะอยู่ที่ Matterport นั่นเอง หลายคนต้องเกินความสงสัยขึ้นมาอย่างแน่นอนใช่รึป่าวครับ เพราะในสื่อต่างๆ จะนำเสนอเพียงแค่ว่า Matterport นั้นสามารถสแกนเพื่อทำ Virtual tour หรือสร้างภาพ 360 องศา เท่านั้น แต่หากเรามองถึงคุณสมบัติของ matterport ดีๆ นั้นยังสามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้อีักหลายรูปแบบเลยทีเดียวซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้นเราไปชมพร้อมๆ กันเลย

1. พิพิธภัณฑ์ออนไลน์

สำหรับข้อนี้ถือว่าเป็นฟังก์ชั่นลำดับแรกของ matterport เลยทีเดียว เพราะไม่ใช่แค่สแกนเสร็จแล้วสามารถอัพขึ้นเพื่อชมได้ทันทีแล้วนั้นยัง สามารถกระจายประสบการณ์การเข้าชม พิพิธภัณฑ์ออนไลน์นี้ออกไปยังพพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และยังเป็นพิพิธภัฯฑ์ที่สามารถเดินชมช่วงไหน เวลาใดก็ได้ สามารถชมได้ทั้งหมด 360 องศาเลยทีเดียว ใครที่อยากเที่ยวพิพิธภัณฑ์แต่ว่าไม่มีเวลาเดินทาง การท่องเที่ยวรูปแบบนี้ก็ได้ประสบการณ์ที่ดีไปอีกแบบครับ

2. เกม

แน่นอนว่าอุตสาหกรรมเกสต้องอยู่ในลิสอย่างแน่นอน เพราะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ภาพรวมนั้นออกมาสวยงาม สมจริง และยิ่งเป็นเกสที่มีเรื่องราว หรือสตอรี่ที่ต้องผจญภัยไปยังด่านต่างๆ ฉากที่อยู่ในเกมยิ่งต้องมีความสำคัญตามลำดับของเนื้อเรื่องตามไปด้วย หรือยกตัวอย่างเช่นเกมยิง ซอมบี้ที่ผจญภัยในบ้านร้างสุดหลอนนั้น การที่จะสร้างบ้านขึ้นมา 1 หลังนั้นถือว่ายากอยู่แล้ว ยิ่งต้องทำให้บ้านหลังนั้นมีความสมจริงด้วยยิ่งยากเข้าไปอีก ซึ่งจะดีกว่าหรือไม่หากเราสามารถที่จะสแกนบ้านทั้งหลังแล้วยกมาอยู่ในเกสได้ทันที ดังตัวอย่างของเกม MatterPak Attack จากบริษัท RSET ที่ใช้ Matterport ในการทำงานครั้งนี้

หากเราลองสังเกตจากตัวอย่างแล้วองค์ประกอบในส่วนของฉากนั้นสามารถกลมกลืน และให้อรรถรสในการเล่นได้อย่างสมจริง และนอกจากนั้นการทำงานจะประหยัดทั้งเวลา การเคลียไฟล์ และยังสามารถปรับสี แสง และส่วต่างๆ ของไฟล์ได้อีกด้วย

3. ภาพยนต์ / แอนิเมชั่น

สำหรับในข้อนี้นั้นตอนนี้อาจจะเป็นเพียงไอเดีย หรือการคาดการณ์ไว้เ่านั้น แต่เชื่อว่าในอนาคตนั้น Matterport จะต้องมีฟังก์ชั่นหรือสามารถสแกนสถานที่ที่สามารถสร้างงานออกมาเป็นฉากภาพยนต์ที่สมจริงได้อย่างแน่นอน

4. ละครเวที / คอนเสริต

ถ้าพูดถึงละครัเวทีแล้ว สิ่งที่ผู้ชมคาดหวังคือการที่ได้รับอรรถรสและประสบการณ์ของการเล่าเรื่อง และการแสดงแบบสดๆ ที่ ไม่ว่าจะเป็นนักแสดง การร้อง การเต้น  การบรรเลงต่างๆ ต้องมาจากการแสดง ณ ขณะนั้น ซึ่งในที่นี้รวมไปถึงการเปลี่ยนฉากในแต่ละซีนที่ต้องใช้เม็ดเงินและฝีมือะดับมืออาชีพมในการเนรมิตฉากต่างๆ ให้ออกมาสวยงามอลังการตามที่ผู้กำกับต้องการ

ซึ่งในตอนนี้วิธีนี้อาจจะดูคลาสสิคในผู้ผลิตละครเวทีในหลายๆ ราย  แต่ก็มีนักสร้างสรค์เวทีบางรายที่มีไอเดีย และนำมาต่อยอดความคิดสร้างสรรค์โดยที่เขาได้เริ่มต้นจาก ไปสแกนพื้นที่ต่างๆ และนำมาปรับแต่งให้เข้ากับสถานะการณ์ของละครเวที และใช้เทคนิกพิเศษอย่าง “โฮโลแกรม” ในการยิงแสงสีของฉากนั้นๆ ทำให้ละครเวทีดูล้ำยุค ล้ำสมัยและสวยงามไปพร้อมๆ กัน ซึ่งในการเลือกใช้วิธียังถือว่าอยู่ในขั้นของการทดลองเท่านั้น แต่เชื่อว่าใครหลายคนที่คอยติดตามอยู่คงได้ชมกันเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน