MoCap – Motion Capture จับการเคลื่อนไหวครบเซต ร่างกาย, มือ และ ใบหน้า

Motion Capture เทคโนโลยีจับการเครื่องไหวของร่างกาย, มือ และ หน้าตา ช่วยลดเวลาการทำงานอนิเมชั่นลงมาก และดูสมจริงมากขึ้น เนื่องจากใช้คนจริงๆมาขยับท่าทางเพื่อ Mapping การเครื่องไหวเข้ากับโมเดล, ตัวละคร หรือ Avatar โดยทั่วไปนั้นเทคโนโลยีนี้ นิยมเรียกว่า MoCap โดยการนำพยางค์แรกของ Motion Capture เครื่องมือ Hardware จะมีลักษณะเป็นชุดสวมใส่, ถุงมือ หรือ กล้องจับใบหน้า และการเคลื่อนไหว ไฟล์ที่ได้จากการทำ Mocap จะอยู่ในรูปการเคลื่อนที่ของ coordinate x,y,z เราสามารถนำไปใช้ต่อโดย Mapping เข้ากับ Skeleton ของโมเดลต่อไป

Rokoko เป็นบริษัทสัญชาติ Denmark สร้างชื่อจากการเป็นผู้พัฒนาชุดโมชั่นแคปเจอร์มีราคาดี ใช้งานง่าย เป็นแบบ Sensor Motion Marker (IMU Sensor) ไม่ต้องติด Marker สามารถ Stream การเคลื่อนไหว Realtime ผ่านระบบ WiFi เซนเซอร์ซ่อนอยู่ในตัวผ้า จึงสามารถเคลื่อนไหวได้สบาย ใช้งานง่ายกว่าระบบ Mechanical และ Optical ที่มีราคาแพง ระบบ Sensor ข้อดีมีมาก น่าจะใช้ แต่มีข้อเสียอยู่บ้างคือต้องต่อกับ Battery Power Bank เป็นแหล่งจ่ายไฟ ในชุดมีกระเป๋าไว้ใส่ Powerbank Rokoko มีฐานผู้ใช้จำนวนมากทั่วโลก และ บริษัทภาพยนต์หลากหลาย

เป็น Authorized Partner กับ Rokoko ดูแลลูกค้าในไทย สินค้าค่อนข้างละเอียด เรื่องสอนการใช้งาน ดูแล Aftersales Sevice เชิญคนไทยมาสร้างสรรค์งาน Motion สู่ชาวโลกกันครับ


สินค้าที่เกี่ยวข้อง


Motion Capture ในท้องตลาดทั่วๆไปอาจแบ่งได้ 3แบบดังนี้ การจับการเคลื่อนไหวทางกล (Mechanical MoCap) การจับการเคลื่อนไหวด้วยเทคนิกทางแสงหรือการตรวจจับ Marker (Optical MoCap) และ สุดท้ายเป็นระบบการตรวจกับด้วย Motion Senser ขนาดเล็กกว่าตอบสนองเร็วกว่า (Sensor MoCap)

  • Mechanical Tracking Mocap (ใช้หลักการทางกล เซนเซอร์ Analog) เทคโนยีนี้ไม่คอยแพร่หลายนัก เนื่องจากการสวมใส่ยุ่งยาก การเคลื่อนไหวไม่อิสระ หนัก และดูใช้งานยากที่สุดในทุกกลุ่ม
  • Optical Tracking Mocap (ใช้ Marker สะท้อนแสง ต้องติด Marker จำนวนมากที่คนแสดง) เทคโนยีนี้ใช้กันมานานหลายสิบปี และยังใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยราคา System นี้จะอยู่ในหลักหลายล้านบาท ใช้กับภาพยนต์ AAA เช่น Avatar, The lord of the rings, Marvel Studio
  • Sensor Tracking Mocap  (ใช้ Motion Sensor, Gyroscope) เทคโนยีนี้ค่อนข้างใหม่ถ้าเทียบกับแบบ Light Track โดยมีราคาถูก, ใช้งานง่ายกว่า และกำลังเป็นที่นิยม แม้จะยังพัฒนาไม่เต็มที่เท่า Light Track Rokoko อยู่ในหมวดหมู่นี้ครับ

Mechanical Tracking MoCap จับการเคลื่องไหวทางกล Analog

หลักการใช้งานของระบบ จับการเคลื่อนไหวทางกล จะใช้ Analog Sensor หรือ เซนเซอร์ทางกล หรือ Servo Motor ที่จับองศาการเคลื่อนที่ของ Joint ตำแหน่งต่างๆข้อตำแหน่งที่สร้างออกแบบ ระบบนี้ค่อนข้างเก่า มีข้อเสียคือไม่ค่อย Flexible การติดตั้งยาก ผู้สวมใส่จะขยับลำบากเพราะจะติดอยู่ที่จำนวนข้อต่อ เคลื่อนไหวไม่อิสระเท่าระบบอื่นๆ อีกทั้งยังหนัก ปัจจุบันระบบนี้ไม่ค่อยได้มีให้เห็นแล้ว

Optical Tracking MoCap จับการเคลื่องไหวแบบใช้แสงและมาร์คเกอร์

หลักการทำงานคือใช้กล้องจับการเคลื่อนที่ของมาร์คเกอร์ (ใช้ Marker สะท้อนแสง ต้องติด Marker จำนวนมากที่คนแสดง) โดยมากใช้การฉายแสง infrared หรือ Pattern แสงแบบอื่น ไปยังนักแสดง มาร์คเกอร์ที่ติดบนตัวนักแสดงจะสะท้อนกับมายังกล้อง Software ประมวลผลการเคลื่อนที่ XYZ coordinate ของแต่ละ Marker

เทคโนยีนี้ใช้กันมานานหลายสิบปี และยังใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยราคา System นี้จะอยู่ในหลักหลายล้านบาท ใช้กับภาพยนต์ AAA เช่น Avatar, The lord of the rings, Marvel Studio  ข้อดีคือยิ่งติดมาร์คเกอร์มากการเคลื่อนไหวก็ละเอียดขึ้น

ข้อเสียคือมีราคาสูง มีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากมากๆ และต้องการพื้นที่ Studio ใหญ่ๆเพื่อให้เกิดการเคลื่อนที่ Workflow ใหญ่ๆได้ อีกทั้ง After Process ในการถ่ายทำ เนื่องจากเป็นระบบที่ใช้การสะท้อนแสง ต้องมีแหล่งกำเนิดแสงติดตั้งไว้หลายจุดมาก การจับการเคลื่อนไหว โดยใช้กล้องจับแสงสะท้อนของ Marker ระบบนี้ใช้งานมาอย่างยาวนาน และหนังดังๆล้วนใช้ระบบนี้ ข้อเสียคือราคาสูง ต้องใช้เวลา Setupนานต้องทำด้วยผู้เชี่ยวชาญ

Face Capture ทำโดยใช้กล้องวิดีโอภาพใบหน้า นักแสดง Software จะทำการ Mapping หน้าเข้ากับ VFX

Sensor Tracking Mocap จับการเคลื่อนไหวแบบใช้เซนเซอร์

หลักการทำงานของระบบนี้จะดูง่ายกว่า ซับซ้อนน้อยกว่า เพราะเปลี่ยนการใช้กล้องจำนวนมาก จุดมาร์คเกอร์จำนวนมาก มาเป็นการจับการเคลื่อนไหวในรูปแบบ IMU Sensor + Gyroscope แทนผู้ใช้งานเพียงสวมใส่ชุดที่ติดตั้งเซนเซอร์เหล่านี้เข้าไป ระบบนี้ราคาถูกกว่า และ workflow ง่ายกว่ามากติดอยู่ที่คุณภาพของงานจะไม่สูงสุดเท่าระบบ Light Tranking ระบบนี้มีขายทั้งแบบชุดสวมใส่, ถุงมือ, กล้องจับสีหน้าและท่าทาง ไฟล์ที่ได้ก็เป็นแบบเดียวกับระบบจับการเคลื่อนไหวด้วยแสงคือ การเคลื่อนที่ของ XYZ Coordinate ระบบนี้ต้องแบตเตอรี่เป็นแหล่งให้กำเนินพลังงาน (ใช้ Power Bank) ได้ไฟล์การทำงาน แบบ Realtime แต่ยังมีจุดด้อยอยู่บ้างที่ระบบนี้แพ้สนามแม่เหล็ก พยายามเลี่ยงแหล่งเกิดสนามแม่เหล็กจำพวก โลหะต่างๆ เพื่อไปรบกวนการทำงานของ Sensor ระบบนี้เป็นที่นิยมมากขึ้นอย่างมากในช่วง 2ปีหลังมานี้ เนื่องจากใช้งานง่าย Stream การเคลื่อนไหวได้เลยและมี Lantecy ที่ต่ำมาก มีข้อเสียเช่นกัน คือ ระบบนี้ต้องการพลังงานในการ Stream ผ่านระบบ WiFi ต้องมี Power Source ซึ่งสำหรับ Rokoko จะให้กับ Power Bank มือถือทั่วไปและซ่อน Power Bank ในกระเป๋าที่ติดมากับชุด SmartSuit Pro2

Sensor Tracking MoCap เป็นเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า จับการเคลื่อนไหวจาก IMU motion sensors เป็นไฟล์ Digital Coordinate เลย ระบบนี้ดูจะถูก และ ใช้งานง่ายกว่า ระบบ Optical

Gallery


บทความและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง