How to การสร้าง Virtual Tour ในแหล่งสถาปัตยกรรมสำคัญในเชียงใหม่

How to การสร้าง Virtual Tour ในแหล่งสถาปัตยกรรมสำคัญในเชียงใหม่

สวัสดีครับวันนี้ Dfine Digital Reality อยากมาเล่าและแชร์ประสบการณ์การทำงานที่แสนจะวิเศษกับ Matterport Pro2 และ Leica BLK 360 เผื่อใครหลายที่กำลังเป็นมือใหม่หัดสแกนพื้นที่ หรือผู้ที่กำลังมองหาข้อมูลก่อนลงมือทำจริงในการสร้าง Virtual tour วันนี้ Dfine จะมาบอกทุกสูตรทุกขั้นตอนกันเลย

ซึ่งสถานที่ๆ เราจะสแกนกันนั้นเป็นวัดเก่าแก่คู่เมืองเชียงใหม่ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ที่สร้างความโดดเด่นจนกลายเป็นสถานที่ที่ต้องไปเยือนเมื่อมาถึงเชียงใหม่เลยทีเดียว ซึ่งก็คือ “วัดศรีสุพรรณ” นั่นเอง โดยสัญญาลักษณ์ของวัดนี้ก็คงหนีไม่พ้น พระอุโบสถเงินหลังเก่าแก่ที่มีความวิจิตร และสวยงาม โดยรังสรรค์จากช่างฝีมือในพื้นที่ที่อยากอนุรักษ์ภูมิปัญญาดังเดิมในการผลิตเครื่องเงินของภาคเหนือเอาไว้ ซึ่งก่อนเริ่มต้นการทำงานนั้น ทางทีม Dfine ได้มีการวางแผนร่วมกับคนในพื้นที่ไว้เป็นอย่างดี เพื่อที่จะให้การทำงานนั้นมีความราบรื่น และถ่ายทอดออกมาให้ดีที่สุด

เราเริ่มต้นการทำงานในวันธรรมดา เพราะเหตุผลแรกเลยคือปริมาณนักท่องเที่ยวค่อนข้างน้อย และง่ายต่อการจัดการ โดยจุดแรกที่เราเลือกทำงานคือบริเวณลานหน้าพระอุโบสถเงิน เพราะเป็นพื้นที่กว้างและโล่งทำให้การใช้งานของ Leica BLK 360 นั้นสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยปกติและตัว Leica BLK 360 นั้นมีความสามารถในการยิงเลเซอร์เพื่อสร้าง point cloud ไปได้ไกลถึง 60เมตรและนั่นก็เป็นอีกเหตุผผลหนึ่งที่ต้องเลือกลานกลางแจ้งเป็นจุดศูนย์กลางในการเริ่มต้นทำงาน นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องง่ายที่จะสแกนในจุดต่อๆ ไปอีกด้วย แต่อยากบอกเคล็ดลับอีกอย่างหนึ่งก็คือการทำงานของ Leica BLK 360 นั้นจำเป็นจะต้องสแกนต่อกันไปเรื่อยๆ โดยที่ยังมองเห็นจุดเดิมที่สแกนผ่านมาแล้วนั่นเอง ซึ่งหลังจากที่เราได้จุดตั้งต้นแล้วเราก็ดำเนินการสแกนพื้นที่เพื่อเก็บเส้นทางเดินวัด ลานกว้าง หรือสถานที่ใหญ่จนครบทุกมุมวัด

             

จากนั้นลำดับถัดไปเราต้องมาเก็บรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆกันต่อเลย คราวนี้ถึงคิวของ Matterport Pro2 กันบ้างครับ โดยสาเหตุที่เราเลือก Matterport Pro2 ในการสแกนภายในของสถานที่ต่างๆ ก็เพราะว่าการทำงานผ่านกล้องความละเอียดสูงถึง 138 ล้านพิกเซล และมีระยะการสแกนอยู่ที่ 3-5เมตร ทำให้เหมาะแก่การสแกนเก็บรายละเอียดในระยะที่ไม่ไกลมากนัก ซึ่งเราก็เริ่มต้นการสแกนภายในของพระอุโบสถเงินกันเป็นที่แรกเลย โดยจุด highlight สำคัญคือภาพฝาผนังที่ทำจากเงินทั้งหลัง แต่ก็แอบมีบางจุดที่ใครหลายคนไม่มีโอกาสได้เห็นนั้นก็คือภาพหลังประตูพระอุโบสถ นั้นเอง! และขอให้ข้อมูลนิดนึงนะครับ พระอุโบสถหลังนี้ขึ้นไปสการะพระพุทธรูปได้แต่เพศชายนะครับ

ลำดับถัดไปเราก็ได้สแกนพื้นที่ส่วนอื่นๆ ต่อครับมีทั้งพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรวบรวมของดีเมืองเชียงใหม่ให้เราได้ชม ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรม ร้านค้าเครื่องเงิน และร้านกาแฟบุญที่คอยให้บริการทีมงานตลอดเลย อยากบอกว่ากาแฟอร่อยมาก! เมื่อเราสแกนพื้นที่ทุกอย่างครบแล้ว เราก็มาตรวจสอบงานของเราอีกทีครับว่าในส่วนต่างๆ นั้นมีความครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่ มีจุดใดที่ต้องเพิ่มและไม่สมบูรณ์หรือไม่ โดยที่เราเองก็ต้องทำงานแข่งกับเวลาพอสมควรเพราะหากว่าเราพลาดจุดใดจุดหนึ่งไปนั้น อาจจะกลับมาแก้ไขได้ไม่เหมือนเดิมครับ

สรุปเทคนิคและการเรียนรู้จากการทำงาน

  1. ควรสร้างจุดเริ่มต้นในพื้นที่กว้างด้วย Leica BLK 360 เพราะด้วยระยะที่ไกลของ Leica จะทำให้ง่ายต่อการเชื่อมต่อในจุดถัดไป และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือการที่เราตั้งสแกนในพื้นที่กว้างๆ นั้นจะทำให้ Leica BLK 360 นั้นสามารถมองเห็นสถานที่ต่างๆ แบบคร่าวๆ ได้ทั้งหมด และเมื่อเราขยับ Leica  BLK 360 ไปในทางใดทางหนึ่งจะทำให้การทำงานของระบบ Aligment นั้นรวดเร็วขึ้นเป็นเท่าตัว
  2. การสแกนเส้นทางด้วย Leica BLK 360 จะทำให้งานดำเนินการได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อย่างที่บอกไปว่าสถานที่ๆ เราทำงานนั้นเป็นพื้นที่ค่อนข้างกว้างรวมๆ แล้วกว่า 10,000 ตารางเมตร หากเรามองหน้างานเพียงเท่านี้ก็อาจจะต้องใช้เวลาในการสแกนมากถึง 3-4 วัน แต่ในการเก็บพื้นที่ให้ครอบคลุมให้ทั่วบริเวณนั้นก็ต้องอาศัย Leica  BLK 360 ที่สามารถเก็บพื้นที่ในระยะไกล และสร้าง point cloud ภายในการสแกนได้อย่างละเอียด
  3. Leica BLK 360 จะเหมาะกับการทำงานกลางแจ้งเพราะสามารถตัดแสงความสว่างของดวงอาทิตย์ได้ ซึ่งนอกเหนือจากประสิทธิภาพการสแกนในระยะไกลได้ดีแล้วนั้นยังสามารถทำงานได้ดีในที่แสงมากได้ดีอีกด้วย ลองนึงถึงเวลาที่เรานำโทรศัพท์มือถือไปถ่ายในพื้นที่กลางแจ้ง ซึ่งบ่อยครั้งเราจะเจอกับปัญาหาแสงสว่างมากเกินไปจนทำให้ไม่เห็นรายละเอียดนั่นเอง
  4. หากมีการเก็บรายละเอียดในภายหลังสามารถใช้ Matterport สแกนต่อจากจุดใดก็ได้และจึงใช้ Leica BLK 360 สแกนต่อได้ทันที อย่างที่บอกไปว่า Leica BLK 360 นั้นจำเป็นต้องสแกนต่อเนื่องไปเรื่อยๆ แต่จะทำอย่างไรถ้าถึงเวลาที่เราจะต้องมาสแกนในพื้นที่เดิมอีกครั้ง ซึ่งเรามีเทคนิคมาแนะนำกันในวันนี้คือเราสามารถใช้ Matterport สแกนในจุดที่เราต้องการอีกครั้ง และใช้ Leica BLK 360 สแกนต่อไปได้ครับ
  5. งานภายในอาคารแนะนำให้ใช้ Matterport เพื่อความรวดเร็วและความละเอียดสูง งานภายในอาคารนั้นเป็นงานที่ต้องเก็บรายละเอียดเป็นอย่างมาก ทั้งสี แสง และความสมจริง โดยการทำงานของ Matterport ที่ทำงานผ่านกล้องความละเอียด 138 ล้านพิกเซลยังงัยก็ตอบโจทย์การทำงานในจุดนี้ ซึ่งคุณภาพของงานที่ได้จะอยู่ในระดับ High Resolution และเรายังสามารถ capture ออกมาได้หลังจากประมวลผลเสร็จได้อีกด้วย

ข้อควรระวังในการทำงาน

  1. ควรสังเกตสถานะแบตเตอรี่ของ Leica BLK 360 ไม่ให้ต่ำกว่า 30% เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลที่รวดเร็ว
  2. ควรวางแผนเรื่องของเส้นทางในการสแกนให้เรียบร้อยเพราะ Leica BLK 360 ไม่สามารถสแกนแบบกระโดดไปจุดที่ไม่ต่อกันได้
  3. ควรวางแผนการใช้เวลาในการสแกนให้ดี เพราะแสงธรรมชาติจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
  4. เนื่องจากเป็นสถานที่กลางแจ้งการจัดการเรื่องการเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ

 

Leave a Reply