5 เหตุผล motion capture ตอบโจทย์งานมัลลติมีเดีย

5 เหตุผล motion capture ตอบโจทย์งานมัลลติมีเดีย

หากพูดถึงงานมัลติมีเดียแล้วนั้น สิ่งที่ต้องพูดถึงตามมาอีกนั่นก็คือการสร้างงาน Motion หรือว่าการเคลื่อนไหวของทุกตัวแสดง ซึ่งถือว่าเป็นงานที่ยากและใช้เวลาค่อนข้างมากในการสร้างสรรค์งานขึ้นมา 1 ชิ้น ซึ่งปัจจุบันมีนวัตกรรมที่เข้ามาตอบโจทย์เป็นกระชับการทำงานของเหล่านักสร้างสรรค์ให้สามารถทำงานได้เร็วและง่ายขึ้น ซึ่งเราสามารถแสดงท่าทางในแบบที่เราต้องการได้ และสามารถแสดงผลออกมาได้ทันทีไม่ว่าจะเป็นการเดิน การนั่ง การกิน การต่อสู้หรือแม่กระทั่งการแสดงออกทางสีหน้าท่าทาง ซึ่งเราเรียกนวัตกรรมนี้ว่า Motion capture โดยเป็นการนำ 2 คำมาผนวกร่วมเข้าด้วยกัน นั่นก็คือคำว่า Motion ที่แปลว่าการเคลื่อนไหว และคำว่า Capture ที่แปลว่าการบันทึกหรือว่าการตรวจจับ นั่นเอง ซึ่งพอเรานำ 2 คำนี้มารวมกันแล้วก็จะได้ความหมายว่า “การจับการเคลื่อนไหวนั่นเอง” แต่ถ้าถามว่าการจัดการเคลื่อนไหวนี้สามารถตอบโจทย์การทำงานด้านมัลติมีเดียได้อย่างไร Dfine จะขอแนะนำเป็นตัวอย่างการทำงานเผื่อทุกท่านจะได้เห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น ไปชมกันได้เลยครับ

5 เหตุผล motion capture ตอบโจทย์งานมัลลติมีเดีย

1.1บันทึกการเคลื่อนไหวได้อย่างแม่นยำและสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิรสะ นวัตกรรม Motion Capture นั่นปัจจุบันสามารถพัฒนาให้มีการส่งและรับสัญญาณแบบไร้สายได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อมูลผ่านระบบ Wifi หรือว่าระบบสัญญาณวิทยุต่างๆ และยิ่งไปกว่านั้นสามารถที่จะส่งและรับสัญญาณได้ไกลมาก อย่างเช่น Smart Suit Pro2 จากแบรนด์ Rokoko ที่มีการเครมว่าสามารถรับ-ส่ง สัญญาณได้ไกลถึง 100 เมตร เลยทีเดียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะของสัญญาณ Wifi ของผู้ใช้งานด้วย และด้วยความสามารถในการส่งสัญญาณขนาดนี้ก็ยิ่งทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการใช้งานในด้านการแสดงขึ้นไปขั้นหนึ่ง และยิ่งไปกว่านั้นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมานั้นทำให้เราสามารถถ่ายทอดการทำงานผ่านตัวละครที่เราสร้างขึ้นแบบ Real time ได้ทันที 

ตัวอย่างงานจาก AI Motion Capture สร้าง Motion Capture จาก Video เหมาะกับงาน แบบง่ายๆ

2. ลดขั้นตอนและการบันทึกการแสดง โดยจากข้อที่แล้วมีการบอกถึงการแสดงแบบ Real time ซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นข้อต้นๆ ของนวัตกรรม Motion Capture เลยก็ว่าได้ เพราะขนาดนักแสดงที่เป็นคนจริงๆ แสดงยังต้องการการถ่ายทำมากกว่า 1 รอบในแต่ละซีน และยิ่งเป็นการทำงานแบบอนิเมชั่นแล้ว ยิ่งต้องเพิ่มความละเอียด เพิ่มขั้นตอน เพิ่มเวลาในการทำงานขึ้นไปอีก การแสดงผมแบบ Real Time ก็จะทำให้ผู้ควบคุมงานหรือผู้กำกับได้เห็นผลงานที่แสดงออกมาได้ทันที ซึ่งช่วยให้การทำงานขั้นลดระยะเวลาไปได้มากทีเดียว 

ขอบคุณภาพจาก www.google.com

3. ลดระยะเวลาในการทำงาน โดยสามารถอ้างอิงได้จากหลายๆ งานวิจัยที่พูดถึงการสร้างสรรค์งานอนิเมชั่น ที่ได้ทดลองสำรวจกระบวนการทำงานของอุตสาหกรรมด้านนี้ โดยผลปรากฎว่าขั้นตอนที่ใช้เวลาในการทำงานมากทีสุดคือการสร้างการเคลื่อนไหว เพราะในอดีตนั้นต้องนำนักแสดงว่าแสดงและบันทึกเป็นวีดีโอ แล้วนำไปเป็นต้นแบบในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งกว่าจะจบกระบวนการตรงนี้ก็ใช้เวลามากกว่า 1-2 ปี (อ้างอิงอนิเมชั่นเรื่องยาว 1.30 ชม.) เพื่อให้ได้งานที่สมบูรณ์ที่สุด และพอปัจจุบันนี้ได้มีการนำนวัตกรรมด้านนี้ขึ้นมาใช้ เพียงแค่ให้นักแสดงใส่อุปกรณ์และแสดงท่าทางที่ต้องการ เพียงเท่านี้ตัวละครในงานอนิเมชั่นก็จะขยาดทำท่าทางอย่างที่เราต้องการได้ทันที

    

4. การลงทุน motion capture ถูกกว่ายุคอดีตกว่า 10 เท่า ข้อนี้ถือว่าเปิดโลกการเข้าถึงนวัตกรรมของเหล่า Studio House ได้อย่างยอดเยี่ยมเพราะในเมื่อก่อนนั้น นวัตกรรมตัวนี้มีเพียงบริษัทชั้นนำของโลกเท่านั้นที่สามารถลงทุนใน Motion Capture อย่างเช่น Disney, Pixza, WB, Mavel เป็นต้น โดยต่อนักแสดง 1 คนนั้น จะต้องลงทุนในชุด Motion Capture อย่างน้อย 5-10 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงเกิดไปสำหรับ Studio House ที่เพิ่งเริ่มต้น แต่ในทุกวันนี้นั้นหลายๆ ได้มีการพัฒนาขึ้นมาให้สอดคล้องกับโลกยุคเทคโนโลยีแบบนี้ อย่างเช่น Rokoko ที่ได้ทำงานด้านนี้และเห็นว่าควรที่จะสร้างสรรค์สินค้าให้สามารถเข้าถึงได้ทุกคน โดยได้ตัดจุดที่ไม่จำเป็น และพัฒนาระบบสัญญาณให้สามารถใช้สัญญาณที่ใช้ได้ในทุกที่ทุกเวลา และเหมาะสมกับราคาที่ลงทุนไป

5. ต่อยอดการทำงานได้หลากหลาย เพราะหลายคนคงจะมี mindset ที่ว่า Motion Capture จะใช้ได้เพียงงานมัลติมีเดียเท่านั้น แต่หากมองลงไปแล้วนั้น นัวตกรรม Motion Capture สามารถทำงานด้านอื่นได้มากกว่าที่เราคิด ยกตัวอย่างเช่น งานด้านกีฬา ก็เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้นำ Motion Capture ไปใช้เช่นเดียวกัน เห็นได้จากนักแบดมินตันชาวญี่ปุ่นอย่าง เคนโตะ โมโมตะ ที่ได้นำนวัตกรรมนี้ไปตรวจจับการเคลื่อนไหวของร่งกาย ซึ่งสามารถคำนวนท่าทางการเคลื่อนไหว เพื่อออกแบบอุปกรณ์กีฬาในแบบเฉพาะของเขา ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เขาก้าวขึ้นเป็นนักกีฬาแบดมินตันมันต้นๆ ของโลก นอกจากนี้ยังมีหลายอุตสาหกรรมทีนำนวัตกรรม Motion Capture ไปประยุกต์ใช้อีกหลายอุตสาหกรรม ทั้งการแพทย์ ภาพยนต์ หรืองานด้านแฟชั่นเป็นต้น โดยสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่

ขอบคุณภาพจาก : www.google.co.th

Leave a Reply